• พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเยอรมัน สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยชาวพุทธกลุ่มแรก นำโดย ดร.คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ เขาได้ก่อตั้งสมาคม เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี ที่เมืองไลป์ซิก ใน พ.ศ. 2446 • การเผยแผ่พระพุธศาสนาในประเทศเยอรมัน ดำเนินการ โดยเอกชนที่มีการจัดพิมพ์วารสาร และ จุลสารออกเผยแผ่ โดยหนังสือพระพุทธศาสนาที่เป็นที่นิยม และมีชื่อเสียงมากที่สุด ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ถึง 6 ชั่วอายุคน คือ หนังสือพุทธวจนะ • หนังสือพุทธวจนะ เป็นหนังสือที่แปล และเรียบเรียงจากภาษาบาลี เป็นภาษาเยอรมัน โดย พระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรก ชื่อ ท่านญาณดิลก ภายหลังถูกถ่ายทอด เป็นภาษาอื่นๆ มากกว่า 10 ภาษา รวมถึงฉบับภาษาไทยด้วย • พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมันตะวันออกเสื่อมลง เนื่องจากถูกแบ่งแยกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งตะวันตก และ ฝั่งตะวันออก โดยฝั่งตะวันออก ถูกปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ใน พ.ศ.2492 จึงทำให้พระพุทธศาสนา ถูกทำให้เสื่อมลงไป • ปัจจุบันประเทศเยอรมัน ได้รวมกันเป็นประเทศเดียว ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาศัยอยู่ในเมืองฮัมบูร์ก เบอร์ลิน สตุ๊ดการ์ด มิวนิก โคโลญจ และ แฟรงเฟิร์ต • วัดไทยในประเทศเยอรมัน ได้แก่ วัดพุทธวิหาร, วัดไทยมิวนิค, วัดพุทธาราม, วัดพุทธาราม นครเบอร์ลิน
อัพเดท
13 ก.ย. 2565 16:26