บทความ
Articles

บทความธรรมะ

ละเว้นความชั่ว คือ การไม่ทำผิดศีลธรรม มีหลักเกณฑ์ คือ • การไม่ทำผิดในศีล 5 • การไม่ทำผิดกฏหมาย • การไม่ทำให้ผู้อื่น และตนเองเดือดร้อน หรือเป็นทุกข์ การละความชั่วต้องเกิดจากการตั้งใจรักษาศีล และจะครบสมบูรณ์ได้เมื่อมีการ " ละเว้น “ ได้จริงในขณะที่จะทำผิดศีลนั้น สิ่งทีควบคุมการละเว้นความชั่ว คือ หลักธรรม • หิริ คือ การละอาย ในใจการทำความชั่ว • โอตตัปปะ คือ การเกรงกลัวผลแห่งการกระทำนั้น ความชั่วสามารถแจกแจงได้ด้วยอกุสลกรรมบท 10 ประการ เป็นสิ่งที่ต้องละเว้นมีดังนี้ 1. ไม่ทำร้ายคิดร้าย ทำลายผู้อื่น 2. ไม่ลักขโมย ละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น 3. ไม่ประพฤติผิดในกาม 4. ไม่พูดเท็จ 5. ไม่พูดส่อเสียด 6. ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดเพ้อเจ้อ 7. ไม่เสพของมึนเมาสารเสพติดให้โทษ 8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น 9. ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 10. ไม่เห็นผิดจากธรรม ผลของการละเว้นความชั่ว มีดังนี้ 1. ผู้ทำเกิดความสุขกาย สุขใจ เพราะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2. สังคมสงบสุขอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข 3. เกิดความรักความสามัคคี 4. ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น 5. ปราศจากคาวมทุกข์ การทำความดี คือ การปฎิบัติในสิ่งที่ดีซึ่งจะต้องเกิดจากเจตนาที่ดี พร้อมกันทั้ง กาย วาจา ใจ จึงจะเป็นการทำความดีที่สมบูรณ์และเกิดประโยช์นสูงสุด การทำความดี มีดั้งนี้ • การทำทาน • รักษาศีล • เสียสละบริจาค • ระงับอารมณ์โกรธ ให้อภัย • ความอดทนหรือขันติ อดทนติอพฤติกรรมของผู้อื่น • มีทำนองคลองธรรม • จิตอาสา • พรหมวิหาร 4 1. เมตตา ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ 2. กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน ความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ - ทุกข์กายเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ - ทุกข์ใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ 3. มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง 4. อุเบกขา การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม มีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม การทำความดีทางกาย มีดั้งต่อไปนี้ • ปฏิบัติตามคำสอนบิดามารดาครูบาอาจาร์ย • กตัญญูต่อบิดามารดาผู้มีพระคุณ • เมตตากรุณาต่อคนและสัตว์โลก • ทำประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติ • ไม่ลักขโมย • ไม่ประพฤติผิดในกาม • ไม่ดื่มสุราหรือสารเสพติด • ไม่ทำผิดกฏหมายและศีลธรรม การทำความดีทางวาจา มีดังต่อไปนี้ • ไม่พูดเท็จ • ไม่พูดส่อเสียด • พูดจาไพเราะ • พูดให้เกิดประโยช์นให้เกิดความสามัคคี • พูดความจริงในสิ่งที่ถูกต้อง การทำความดีทางใจ มีดังต่อไปนี้ • ไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น • รู้จักให้อภัย • มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง • รู้จักข่มใจไม่ให้โกรธ ผลของการทำความดี มีดังนี้ • ผู้ทำเกิดความสุขกาย สุขใจ เพราะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง • อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข • สังคมสงบสุข • เกิดความรักความสามัคคี • ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ การชำระ ล้างจิตใจให้สะอาด ปราศจากสิ่งตปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกต่างต่าง ที่เกิดจากกิเลส ประกอบไปด้วย 3 อย่างดังนี้ 1. โลภ หมายถึง ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก, ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก, มหิจฉา ความอยากรุนแรง, อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือ การใช้สติ ระลึกรู้ในตน 2. โกรธ หมายถึง การอยากทำลายผู้อื่นการอยากฆ่า ความคิดประทุษร้าย ทำให้เกิดกิเลส เช่น ความหงุดหงิด, ความโกรธ, ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คนพาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้ไม่มีความโกรธ 3. หลง หมายถึง ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป็นเหตให้เกิดกิเลส เช่น ลบหลู่คุณท่าน, ตีเสมอ, มานะ ถือตัว, มัวเมา, เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้งส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย จิตจะผ่องใส เจ้าของจิตต้องรู้จักการรักษาศีล เภาวนา นั่งสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา จิตจะผ่องใส จะต้องเกิดจากการ ที่ประพฤติปฎิบัติชอบ ละเว้นความชั่ว และทำความดี จิตต้องขจัดเครื่องขัดขวาง 5 ประการออกจากจิต ซึ่งมีดังต่อไปนี้ • ความพอใจในกาม • ความโกรธแค้นพยาบาทอาฆาตอิจฉาริษยา • ความหดหู่ ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจ • ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ • ความสงสัย จิตที่เข้มแข็งมีสมาธิและเรียนรู้เข้าใจการละกิเลส และเข้าใจไตรลักษณ์ ดังรายการต่อไปนี้ เข้าใจไตรลักษณ์ 1. อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สภาวะ ลักษณะที่ไม่เที่ยงหมายถึง ลักษณะที่เป็นสาธารณะแก่สังขารธรรมทั้งปวงรูป เป็นอนิจจัง คือ มีการเกิดขึ้นและดับไปม่เที่ยงแท้ แน่นอน 2. ทุกขัง แปลว่า สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้คือต้องเปลี่ยนแปลง มีการเกิดขึ้นและดับไป โดยทั่วไปหมายถึงสังขาร 3. อนัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน สภาวะ ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนทุกสิ่งอย่างไม่มีตัวตนเป็นแค่รูปธรรม กับ นามธรรม "การทำดี ละชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส" เป็นทางไปสู่นิพพาน ถ้าปฏิบัติแล้วจะมีความดีโดยอัตโนมัติ จะไม่ตกลงไปสู่พฤติกรรมที่อยากทำชั่วอย่างแน่นอน

อัพเดท

13 ก.ย. 2565 16:31