ไซอิ๋ว วรรณกรรมจีนที่มีอิทธิพลเป็นที่รู้จักกว้างขวางทีาสุดในโลก เป็นการกางพระไตรปิฏก ออกมาเขียนใหม่ในรูปนิทาน เริ่มต้น ด้วยพระถังซัมจั๋ง ซึ่งเป็นตัวแทนของศรัทธา เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง ด้วยแรงศรัทธาคือพลังใจที่จะไปเชิญพระไตรปิฏกมาจากชมพูทวีป คืออินเดียซึ่งอยู่ห่างไกล ท่านพาศิษย์ไปด้วยคือ หงอคง (เห้งเจีย) ตัวแทนโทสะ ตือโป้ยก่าย ตัวแทนความโลภ ซัวเจ๋ง ตัวแทนโมหะ ความไม่รู้ ความหลง ความโง่เขลา หงอคง เป็นลิง เปรียบเหมือนจิตคนเรา สามารถแปลงกาย เหาะเหินเดินอากาศได้ ไม่เคยอยู่นิ่ง คิดไปฟุ้งซ่าน สัดส่ายไปเรื่อย เก่งทุกอย่าง แต่คุมให้อยู่นิ่งๆ กับลมหายใจเหมือนง่ายกลับยาก หากสามารถคุมลิงในใจ คุมจิต ได้ การไปชมพูทวีปก็ไม่ยาก ตอน ๒ หงอคง หรือเห้งเจีย เป็นตัวแทนโทสะ เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ทุกอย่างย่อมราบพนาสูญไปด้วยฤทธิ์ไฟที่เผาผลาญ หงอคงที่ว่าแน่ ก็ยังแพ้ให้กับธรรม ของพระยูไล ฝ่ามือของพระยูไล ๕ นิ้วของท่าน ซึ่งเปรียบเสมือนสัจธรรม ขันธ์ ๕ ใจที่ว่าแน่ๆยังไงก็ไม่พ้น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” หงอคงมีกระบองวิเศษ อันเปรียบได้กับปัญญา กระบองวิเศษยืดยาวได้ไม่จำกัด ปราบปีศาจที่เก่งๆได้เกือบทุกตน แต่ จิตกับปัญญา มักมีปัญหา พระยูไล มอบมงคลรัดหัว คือสติให้พระถังซัมจั๋งคอยดูแลกำกับ และมงคลมี๓ ห่วงคล้องกันแทนไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (พระถังซำจั๋ง คือ ศรัทธา) ตอน ๓ ปีศาจร้ายแต่ละตนคือกิเลส ที่เราต้องทยอยปราบไป เมื่อพบกันครั้งแรกหงอคงบอกพระถังซำจั๋งว่า จะไปชมพูทวีปนั้นง่ายมาก ใช้ฤทธิ์ตีลังกาไป ๗ ที ก็ถึงแล้ว จะเดินไปทำไมให้ยุ่งยาก ให้เสียเวลา ไม่เข้าใจพระถังซำจั๋งบอกว่า ไม่ได้ต้องเดินกันไป ปริศนาธรรมข้อนี้ดีมาก พิจารณาได้ว่า จิต+ปัญญา เมื่อฟังเขาเล่า ฟังเขาบอก คิดเอาเอง ก็บอกง่าย แป๊บเดียวก็ถึงนิพพานได้แล้ว เช่นคนเล่าว่า อริยสัจ ๔ คือทางดับทุกข์ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค ฟังแล้วร้องอ๋อ เข้าใจแล้ว ถึงนิพพานแล้ว แต่จริงๆแล้วยังไม่เข้าใจ “ธรรมะจริงๆแล้วต้องค่อยๆใช้เวลา ปฏิบัติเรียนรู้ไป” ตีลังกาไป ๗ ที ก็ถึงแล้ว จริงๆมันไม่ถึง ต้องค่อยๆเดินไป เหมือนธรรมะต้องค่อยๆปฏิบัติ เรียนรู้ ศึกษาไป ด้วยตนเอง จึงจะเข้าใจ ตอน ๔ โป๊ยก่าย คือศีล ๘, ชัวเจ๊ง คือสมาธิ ศรัทรา +ปัญญา +ศีล+ สมาธิ จึงจะพ้นทุกข์ แต่บางครั้งปีศาจบางตัวก็เก่งเหลือเกิน ต้องไปตามเจ้าแม่กวนอิมมาช่วย เจ้าแม่กวนอิม คือ “เมตตา” “ปัญญา +เมตตา”จะกลายเป็นสัมมาทิฏฐิ ธรรมชั้นสูงซึ่งปราบกิเลสได้ เสมอ แต่เจ้าแม่กวนอิม มักให้หงอคงลองสู้จนหมดแรงก่อน ถึงมาช่วย เหมือนหากมีกิเลสควรให้ปัญญาลองขจัดดูก่อน เกินกำลังแล้วจึงให้ เมตตาปล่อยวาง ถ้าเกินกำลังเมตตาเจ้าแม่กวนอิมช่วยไม่ไหว คนสุดท้ายที่มักมาช่วย คือ พระยูไล พระยูไล แทน กัลยาณมิตร คือพระอริยสงฆ์ท้ายที่สุดถ้าปฏิบัติไม่ไหวก็ถามผู้รู้ ผู้เป็นกัลยาณมิตรเอา... จบแน่นอน “กัลยาณมิตร”คือจุดเริ่มต้นของสัมมาทิฏฐิ กัลยาณมิตรจึงเป็นเสมือนแสงอรุณรุ่ง ก่อนวันบรรลุธรรม ตอน ๕ ลำดับปีศาจแต่ละตัวในเรื่องก็เจ๋งมาก เช่นเมื่อเริ่มเดินทาง ก็พบโจรทั้งหก ขัดขวางไม่ให้ไป สุดท้ายหงอคงเลยเอากระบองตีจนตาย โจรทั้งหกคือ อายตนะ ๖ คือ รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส และอารมณ์ ต้อง เอา ปัญญา (ตะบอง) ฟาดให้ตายก่อนถึงเริ่มออกเดินทางได้ แล้วก็เจอปีศาจไปเรื่อยๆ อีกเป็นร้อย พัน ตน เปิดดูตอนจบ สรุป พระถังซัมจั๋ง(ศรัทรา) +หงอคง+ตะบองวิเศษ(ปัญญา) +ตือโป้ยแก่(ศีล) + ซัวเจ๋ง(สมาธิ) เดินทาง ตอน ๖ กำจัดกิเลสไปจนถึงชมพูทวีป แล้วได้อะไร ตอนจบพระถังซัมจั๋งและคณะ มาถึงแม่น้ำแห่งหนึ่ง สายน้ำเชี่ยวกรากมาก ไม่รู้จะข้ามไปยังไง จนเจอเรือไรท้องเรือจอดอยู่ พระถังซัมจั๋งกังวลมาก เรือไม่มีท้องเรือจะพาข้ามฟากยังไง แต่สุดท้ายก็ยอมใช้เรือข้ามไป แม่น้ำเชี่ยวกรากแทนกองกิเลส เรือนั้นแทน สุญญตา ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อข้ามมาแล้วก็ถึงชมพูทวีป และได้คัมภีร์มาเป็นหนังสือเปล่าหนึ่งเล่ม แทนธรรมมะซึ่งคือความว่างเปล่า...คือนิพพาน แต่สุดท้ายหงอคงขอให้มีอะไรกลับไปจีนหน่อย เพราะคนธรรมดาคงไม่เข้าใจ เลยได้คัมภีร์มาอีกเล่มนึง เต็มไปด้วยอักษร บันทึกการเดินทาง เรียกว่า พระไตรปิฎก ... .จบ ความหมาย รหัสการจับคู่ที่น่าสนใจ พระถังซัมจั๋ง ศรัทธา หงอคง + กระบอง จิตที่โลดแล่นเหมือนลิง โทสะ ปัญญา เหมือนกระบองวิเศษที่ยืดขยายได้ไม่จำกัด ตือโป้ยก่าย ความโลภ ศีล ๘ ซัวเจ๋ง ความหลง ความไม่รู้ สมาธิ มงคล คือสติ ควบคุมด้วยศรัทธา มี ๓ ห่วงคือ มีสติรู้ ว่าทุกสิ่งอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระยูไล คือพระธรรมพระพุทธเจ้า คือกัลยาณมิตรผู้ชี้ทางสว่าง ฝ่ามือพระยูไล ขุนเขาปลายสุด ๕ นิ้ว ที่ไม่มีใครหนีพ้น ได้แก่ขันธ์๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เจ้าแม่กวนอิม เมตตา ปีศาจ กิเลส มากมายไม่รู้จบ ไม่มีวันตาย ตายแล้วเกิดใหม่ โจรทั้ง ๖ คือ อายตนะ ๖ รูปกาย รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ แม่น้ำเชี่ยวกราก คือ กองกิเลส สังสารวัฏ เรือ ที่จะพาไป คือ ความไม่ยืดมั่นถือมั่น สูญญตา “เมื่อถึงฝั่งต้องปล่อย” ได้คัมภีร์มาคือ ความว่างเปล่า คือนิพพาน เพื่อให้คนเข้าใจ จึงต้อง อธิบายด้วย”พระไตรปิฏก” เอวังด้วยประการฉะนี้
อัพเดท
13 ก.ย. 2565 16:33